ขับเคลื่อนโดย Blogger.

        คัมภีร์อี้จิง
      
         คำว่า "อี้" แปลว่า "แปรเปลี่ยน"  คำว่า "จิง หรือ จื่อ" แปลว่า "คัมภีร์" เมื่อแปลรวมกันจะได้ความหมายคือ "คัมภีร์แห่งการแปรเปลี่ยน" เรียกเป็นภาษาบาลีว่า "อนิจลักขณปกรณ์"
      
         คัมภีร์นี้ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในประมาณช่วง พุทธศักราช 547 โดยพระนาคารชุนอรหันตเถระ ได้นำวิชานี้ขึ้นไปยังดินแดนธิเบต ซึ่งยุคนั้นยังนับถือภูตผี ท่านจึงใช้วิชาจากคัมภีร์อี้จิงเปลี่ยนแปลงสรรพสิ่ง จนในที่สุดสามารถทำให้กษัตริย์ธิเบต และนักบวชหมอผีกลับใจ เข้ามาสาบานตนเป็นพุทธศานิกชน และบวชในพุทธศาสนานับแสน
         ความยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ของพระนาคารชุนในการใช้วิชชาจากคัมภีร์อี้จิง ในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ โดยใช้พลังอี้จิง เคลื่อนย้ายภูเขาออกจนพื้นที่โล่งเตียนเพื่อใช้ในการก่อสร้างพระราชวัง เป็นที่อัศจรรย์แก่ชนชาวธิเบตทั้งหลาย
         ข่าวดังกล่าวได้แพร่ไปยังพระเจ้ากนิษกะ จึงได้อาราธนาพระนาคารชุนอรหันตเถระ ไปยังอณาจักรโขตาน ซึ่งพระเจ้ากนิษกะได้ศึกษาวิชชาจากคัมภีร์อี้จิงจากพระนาคารชุนจนเชี่ยวชาญ ทำให้พระองค์กลายเป็น "มหาราช" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น คือ ปกครองชมพูทวีปทั้งหมดจรดอ่าวเบงกอล คืออินเดียตอนใต้
          พระเจ้ากนิษกะ ได้ปราวารณาตนเป็นพุทธศาสนูปถัมภก อุปถัมพระพุทธศาสนา โดยเป็นประธานในการจัดการ "มหาสังคายนา" ในปี พ.ศ.๖๐๐ มีพระอรหันต์เข้าร่วมมากถึง ๒๕,๐๐๐ รูป และในกาลครั้งนั้น ได้ทรงให้ช่างสลักภูเขาสร้างพระยืนที่หน้าผาบามิยัน ถวายเป็นพุทธบูชา(ปัจจุบันโดนพวกอิสลามตาเลบันระเบิดทำลายเมื่อปี 2549)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS